แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2559

ยุทธศาสตร์ที่ 1 บูรณาการคุณค่าและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพโดยการมีส่วนร่วมในทุกระดับ

1.1 แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความตระหนักและให้การศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวชี้วัด

1 มีและใช้แนวทางและแผนการเสริมสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

2 มีโครงการ/กิจกรรมรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น

3 มีสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น และมีช่องทางการสื่อสารครอบคลุมและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

4 ร้อยละหรือจำนวนหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ มีความรู้ ความตระหนัก ถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

5 จำนวนกิจกรรม/เครือข่ายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีการริเริ่มโดยภาคประชาชน


แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
1.1.1.1 ส่งเสริมการจัดทำแผนงานการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในทุกภาคส่วน 1. จัดตั้งหน่วยประสานงานกลาง (focal point) และหน่วยดำเนินการ (implementation bodies) สำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 1. การประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ปี 2559
2. จัดทำแผนงานการประชาสัมพันธ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมุ่งเน้นประเด็นคุณค่าและความสำคัญต่อวิถีชีวิต สาเหตุหลักการสูญเสีย และขั้นตอนการแก้ไข
3. จัดทำแนวทางและแผนการดำเนินการสร้างเสริมความตระหนักและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนถึงคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ชุ่มน้ำ
1.1.1.2 จัดทำ และพัฒนาสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกภาคส่วน 1. จัดทำและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และข้อความ (Key Message) รวมถึงการประกวดคำขวัญ คำคม การคัดเลือก brand Ambassadors เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นที่สนใจต่อสาธารณชน 1. จัดทำสื่อด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ของทรัพยากรป่าชายเลน
2. สื่อสารผลงานและบริการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
3. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ชุ่มน้ำ 1. อบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
2. จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสกุลพริกและมะเขือในโครงการ Integrated Management System of Plant Genetic Resources (IMPGR)
4. จัดทำจดหมายข่าวความหลากหลายทางชีวภาพในด้านต่างๆ และสอดแทรกประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพไว้ในจดหมายข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ จดหมายข่าวพื้นที่ชุ่มน้ำ จดหมายข่าวแนวปะการัง จดหมายข่าวกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ 1. ทำจดหมาย ขอให้เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลภาพสัตว์ป่าสงวนของประเทศที่ผิดพลาด พร้อมแนบ ภาพที่ถูกต้อง ไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
5. จัดทำและประกวดเว็บไซต์เกี่ยวกับฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพในทุกจังหวัด 1. การเผยแพร่กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ผ่านเว็บไซต์ www.dmcr.go.th และ www.facebook.com/dmcrth ของทช.
2. การจัดทำแผ่นพับและเว็บไซต์
3. ร่วมกับศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลเอกสารวิชาการด้านพฤกษศาสตร์และอื่นๆ ในห้องสมุดกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืชให้สามารถสืบค้นออนไลน์และเชื่อมโยงกับห้องสมุดของกรมวิชาการเกษตรได้
4. จัดทำข้อมูลรายชื่อหนังสือเก่าที่มีอายุหลายร้อยปี ซึ่งเป็นเอกสาร ด้านพฤกษศาสตร์ที่มีคุณค่าพร้อมบันทึกภาพหน้าปกและ จัดทำลิงค์เพื่อเชื่อมโยงสืบค้นข้อมูล
5. จัดทำข้อมูลความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการรวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสวน และการนำไปใช้ประโยชน์ เผยแพร่ในเว็บไซต์สถาบันวิจัยพืชสวน
6. จัดทำสารคดี ภาพยนตร์สั้น สปอตรณรงค์ การ์ตูน รายงาน ข่าว สกู๊ป ข่าว ฯลฯ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน เผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และหนังสือพิมพ์ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด 1. จัดทำหนังสือและแผ่นพับกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนควรรู้
2. จัดทำหนังสือและเอกสารเผยแพร่พรรณไม้ ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7. เสริมสร้างความรู้และสร้างความตระหนักแก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ด้านเกษตรและกลุ่มส่งเสริมอาชีพ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มยุวเกษตรกร ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่ายเกษตรกร โดยการอบรม จัดเวทีให้ความรู้ เอกสารเผยแพร่ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
8. เผยแพร่สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 1. กิจกรรมการเผยแพร่ สร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
9. เผยแพร่กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ของหน่วยงาน ชุมชน และบุคคลที่ประสบความสำเร็จผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ โปสเตอร์ ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ เครือข่ายออนไลน์ (social network) วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ 1. การจัดทำ e-learning เรื่องสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น ให้กับครูและนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
10. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับความรู้พื้นบ้าน และวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนผ่านทางสื่อและองค์กรในระดับต่างๆ รวมถึงองค์กรในระดับท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 1. จัดทำหนังสือพรรณไม้ป่าฮาลา-บาลา
2. จัดทำหนังสือการเพาะเลี้ยงไรแดง 4 ชนิด
11. คัดลือกพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงหรือชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
1.1.1.3 เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ถึงความสำคัญของงานอนุกรมวิธาน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอนุกรมวิธาน 1. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญของอนุกรมวิธานแก่ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง อนุกรมวิธานและการจำแนกชนิดปูในประเทศไทย ผู้เข้าชม 40 คน
2. จัดแสดงนิทรรศการ “Thai Discovery” ด้านอนุกรมวิธาน 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง อนุกรมวิธานและการจำแนกชนิดปูในประเทศไทย ผู้เข้าชม 40 คน
3. จัดและแลกเปลี่ยนนิทรรศการ Flora-Fauna Discovery (พืช-แมลง) กับพิพิธภัณฑ์ในประเทศและนานาชาติ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง อนุกรมวิธานและการจำแนกชนิดปู ในประเทศไทย ผู้เข้าชม 40 คน
4. ผลักดันให้เกิดเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาระดับชาติ
5. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญของงานด้านอนุกรมวิธานที่เป็นพื้นฐานการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพผ่านสื่อที่เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย
1.1.1.4 ส่งเสริมการให้ความรู้และความตระหนักที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืช และสัตว์ โดยผสานความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ 1. จัดอบรมเรื่องการอนุรักษ์ข้าวป่าในสภาพธรรมชาติ 1. อบรมอนุรักษ์ธรรมชาติตามโครงการพระราชดำริ
2. ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความตระหนักแก่สาธารณชนถึงความสำคัญของสัตว์พื้นเมืองความสำคัญของโคขาวลำพูนในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และโคพื้นเมืองต่อการเกษตรไทย 1. นิทรรศการชุด รู้รักษ์ช้าง ผู้เข้าชม 179,900 คน
3. ปรับปรุงศูนย์กีฏวิทยาป่าไม้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ
4. ให้ความรู้เรื่องธรรมชาติวิทยาสัตว์และพืชทะเล และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล 1. การจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน
5. ปรับปรุงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา 1. กิจกรรม Research Show by Naturalist ผู้เข้าชม 769 คน
2. กิจกรรม Miracle of light ผู้เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 3,000 คน
3. ดูแลรักษาเพื่อใช้ในการจัดนิทรรศการ รวม 62 ชนิด จำนวน 4,579 ต้น
6. จัดตั้งและปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
7. จัดแสดงพันธุ์ข้าวในศูนย์เรียนรู้พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองไทย
8. จัดอบรมเสริมสร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรถึงความสำคัญของพืชด้านต่างๆ 1. สำรวจและจัดทำแผนผังการปลูกพรรณไม้มีชีวิตรอบอาคารพิพิธภัณฑ์ พืชสิรินธร โดยจัดแบ่งประเภทพรรณไม้มีชีวิตให้เอื้อต่อการเยี่ยมชมและเรียนรู้ รวมถึงจัดทำป้ายชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ และข้อมูลอย่างย่อ ของประโยชน์และ/หรือสรรพคุณของพืชแต่ละชนิด
9. จัดค่ายเยาวชน และอบรมมัคคุเทศก์ในสวนพฤกษศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีและสวนรวมพรรณไม้ป่า 16 สวน
10. ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรเพื่อเสริมสร้างความตระหนักแก่สาธารณชนถึงความสำคัญของพืชด้านต่างๆ 1. การดำเนินงานตัวชี้วัดมิติภายนอกของสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช หัวข้อระดับความสำเร็จของการรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงเพื่อทดแทนและเพิ่มเติมจำนวนตัวอย่างพรรณไม้ อ้างอิงที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์พืช และจัดองค์ความรู้หัวข้อการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ
2. นิทรรศการชุดความรู้อันมหัศจรรย์เก็บรังสรรค์จากพงไพร ผู้เข้าชม 1,000 คน
3. ศึกษา สำรวจพืชสมุนไพรในถิ่นกำเนิด รวม 511 ชนิด
4. เพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
5. แจกจ่ายสมาชิกชุมชนและผู้สนใจนำไปปลูกในเอกสารสิทธิ รวม 67 ชนิด จำนวน 8,020 ต้น สมุนไพรที่ปลูกมากที่สุดคือ มะขามป้อม สมอไทย ไพล ฝางแดง และจันทร์ผา
6. สมุนไพรที่ปลูกมากที่สุดคือ ขันทองพยาบาท ไพล มะขามป้อม เพกา เจตมูลเพลิง
7. รูปแบบการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเยาวชนแบบ มีส่วนร่วม ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี : สวนสัตว์อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (โครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการ อพ.สธ.)
11. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น และการใช้สิ่งมีชีวิตบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อม
12. จัดงานวันรณรงค์การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว
1.1.1.5 จัดกิจกรรมรณรงค์และการประชุมเพื่อสร้างความรู้ความตระหนัก แรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. จัดนิทรรศการหมุนเวียนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ
2. จัดเสวนาวิชาการร่วมกับผู้นำชุมชน ปราชญ์พื้นบ้าน 1. ประชุมวิชาการด้านป่าชายเลน “การจัดการป่าชายเลนเชิงบูรณาการ”
3. ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ 1. พัฒนาศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้
2. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลา (พันธุ์สัตว์น้ำจืดหายาก)
3. กิจกรรมส่งเสริมการศึกษา 9 กิจกรรม ผู้เข้าชม 4,399 คน
4. ส่งเสริมให้ความรู้และประโยชน์ของแมลงน้ำแก่เยาวชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง อสพ.
5. จัดตั้ง ชมรม/กลุ่ม ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ/พื้นที่ชุ่มน้ำ 1. บริหารจัดการและฟื้นฟูแนวปะการัง โดยการมีส่วนร่วมในพื้นที่นำร่อง จ. สุราษฎร์ธานี และ จ.ภูเก็ต
2. เครือข่ายเฝ้าระวังป่าไทย
3. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในโรงงานปูนซีเมนต์ไทยทั้ง 4 แห่ง เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการฟื้นฟูเหมืองควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
6. จัดกิจกรรมสำหรับประชาชนทั่วไปด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น โครงการปลูกป่า ปล่อยเต่าทะเล เป็นต้น 1. โครงการฟื้นฟูเต่าทะเลโดยการมีส่วนร่วมพื้นที่เกาะพระทอง
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ปี 2559
3. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปี 2559
4. เก็บตัวอย่างพันธุ์กล้วยต่างๆ เพื่ออ้างอิงในพิพิธภัณฑ์ ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดทำ QR Code ของกล้วย
5. จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสวนของศูนย์วิจัยพืชสวน จำนวน ๑๐ แห่ง ภายใต้โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตรของกรมวิชาการเกษตร
6. นิทรรศการชุด Bird Land ดินแดนแห่งนก ตอน Amazing ทุ่งหลวง ผู้เข้าชม 895 คน
7. นิทรรศการ รอบรู้ร่องรอย ผู้เข้าชม 1,500 คน
8. นิทรรศการ Animal Parade ผู้เข้าชม 35,000 คน
9. นิทรรศการ Eggibition มหัศจรรย์แห่งไข่ ผู้เข้าชม 55,600 คน
10. นิทรรศการ Hornbill VS Toucan ผู้เข้าชม 457 คน
11. จัดกิจกรรมโครงการปลูกป่า ปล่อยปูเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ณ อุทยานแห่งชาติปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
12. โครงการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา ประชามีสุข (อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์) โดยการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ เฝ้าระวังการทำประมงฤดูฝนวางไข่ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ การจัดอบรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับชุมชนในการดูแลรักษา ที่อยู่อาศัย และการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยมีชุมชนเข้าร่วม 32 ชุมชน
13. โครงการปลูกจิตสำนึกรู้รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
14. ปลูกต้นไม้ในวันมาฆบูชา ณ พุทธสถาน ในจังหวัดเลย
7. จัดงานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
8. จัดค่ายเยาวชน ค่ายลูกเสือ-เนตรนารี ค่ายวิทยาศาสตร์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 1. ค่าย One Day Camp ผู้เข้าร่วม 30 คน
2. กิจกรรมค่ายเรียนรู้ ดูธรรมชาติหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ใน จ.ลำปาง
3. จัดค่ายนักเรียนและเยาวชน
9. จัดกิจกรรมฉลองเนื่องในวันสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ทศวรรษสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ วันสิ่งแวดล้อมโลก วันสิ่งแวดล้อมไทย วันนกอพยพโลก เป็นต้น) รวมทั้ง สอดแทรกเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในวันสำคัญอื่นๆ เช่น วันเด็กแห่งชาติ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ 1. เตรียมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพมีอายุครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๖๔
2. ร่วมโครงการวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ครั้งที่ 6
10. จัดนิทรรศการหมุนเวียนเพื่อให้ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 1. นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้เข้าชม 235,625 คน
1.1.1.6 เสริมสร้างสมรรถนะเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาเทคนิค/ภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่หรือสื่อสารข้อมูลความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้เข้าใจง่ายมีความเหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมายรวมถึงการติดตามและประเมินความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะของหน่วยงานหรือบุคลากรในแต่ละระดับ 1. จัดอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ มัคคุเทศก์ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ครู อาจารย์รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. ร่วมอบรมฟื้นฟูระบบนิเวศเสื่อมโทรมให้สามารถดำรงไว้ซึ่งความสามารถ ในการให้บริการทางนิเวศ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2. จัดหัวข้อสัมมนาด้านความหลากหลายทางชีวภาพในการเรียนการสอน
3. จัดหลักสูตรอบรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ให้คณะทำงานพร้อมลงมือปฏิบัติ ที่ศูนย์สิรินาถราชินี
2. พัฒนาคู่มือ แนวทาง วิธีการ เทคนิคสำหรับใช้ในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดความรู้เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ 1. การสร้างการรรับรู้ Biodiversity และ Bio-Economy ปี 2559
2. จัดทำคู่มือการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชตาม พรบ.พันธุ์พืช พ.ศ.๒๕๑๘ และ จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชตาม พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.๒๕๔๒
3. พัฒนาบทเรียนท้องถิ่นพืชผักพื้นบ้านใน จ.ลำปาง
3. จัดอบรมมัคคุเทศก์ตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้มีความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อให้สามารถนำไปสอดแทรกในการปฏิบัติงานประจำ
1.1.1.7 จัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 1. จัดประชุมวิชาการเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพและวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก 1. การสัมมนาเนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
2. การสัมมนาวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
3. จัดประชุมสัมมนาวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
2. โครงการพิจารณาผู้มีผลงานดีเด่นในงานด้านพื้นที่ ชุ่มน้ำ ของประเทศไทย เพื่อรับรางวัล Ramsar Conservation Awards ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำกำหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารอนุสัญญาฯ พิจารณา (ทุก 3 ปี)
3. มอบรางวัลให้หน่วยงานด้านการประชาสัมพันธ์ หรือสื่อที่มีการดำเนินงานด้านการนำเสนอรายการข่าว สารคดี บทความ สิ่งพิมพ์ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพหรือเห็นความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ
4. จัดอบรมเยาวชนไทยสู่แหล่งเรียนรู้สวนรุกขชาติในพื้นที่ต่างๆ 1. โครงการนำนักเรียนเข้าเรียนรู้ในสวนสัตว์ ปี 2559
5. จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลแก่ชุมชน 1. นิทรรศการชุด ความหลากหลายของสัตว์ทะเลไทยและเกาะฮอกไกโด กับการถ่ายภาพใต้ทะเล ผู้เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 5,000 คน
6. จัดสัมมนาและนิทรรศการเครือข่ายพฤกษศาสตร์สากลเพื่อการอนุรักษ์
7. จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญ และประโยชน์จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในระดับภูมิภาค ท้องถิ่นและชุมชน เพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องปรองดองกับธรรมชาติ 1. โครงการกิจกรรมบริการแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติหุบเขาลำพญา ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วม 449 คน ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
2. โครงการต้นแบบแหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์โรงเรียนใน ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วม 40 คน ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
3. อบรมทักษะและเทคโนโลยีทางการเกษตร เรื่องการใช้ประโยชน์และ การแปรรูปสมุนไพร
8. จัดประชุมความหลากหลายทางชีวภาพประจำปีของหน่วยงาน 1. สัมมนาวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ปี 2559
2. การอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง ค้นหา เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ การสร้างคลังตัวอย่างเพื่อเป็น สมบัติของชาติ (Collection Management for National Treasure) ผู้เข้าชม 58 คน
9. จัดประชุมวิชาการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะพระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ 1. โครงการรักมหาวิทยาลัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถ โดยร้อยละ 89 ของผู้เข้าร่วมโครงการพึงพอใจต่อกระบวนการจัดโครงการและมีความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม
1.1.1.8 เสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของชุมชนท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะบทบาทสตรีในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน และกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรในชุมชน ในกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มยุวเกษตร และเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 1. รวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสวนในสภาพแปลง
2. สนับสนุนความรู้ การดำเนินงาน และสร้างความตระหนักให้กับชุมชนและเยาวชน
2. ส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ให้ตระหนักถึงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพในการประกอบอาชีพ 1. โครงการภุมรี พลังสตรี พลังรักษ์สิ่งแวดล้อม หนุนเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีและ เป็นรูปธรรม ให้ป่าอยู่ดี ชุมชนมีสุข การท่องเที่ยวให้เกิดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุลและยั่งยืน การจัดการขยะชุมชนให้เป็นระบบ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
1.1.2.1 ผนวก/สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและของสถานศึกษาทุกระดับ และปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่ให้ทันสมัย 1. ปรับปรุงหลักสูตรเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 1. เปิดสอนวิชา 040423510 ความหลากหลายทางชีวภาพ วิชาเลือกหลักสูตร วท.บ. (เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
2. เปิดวิชาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพฯ
2. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับนักเรียน นักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ทุกสาขา 1. การจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรและชีวภาพ
2. ผลิตบุคลากรหลักสูตรความหลากหลายทางชีวภาพ ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
3. มีการศึกษาวิจัยของอาจารย์และนักวิจัย และทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง กับความหลากหลายทางชีวภาพในคณะวิทยาศาสตร์และ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
4. เปิดสอนวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.1.2.2 จัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้านความหลากหลายทางชีวภาพและสอดแทรกไว้ในสาระวิชาเดิมที่มีอยู่ในแต่ละระดับ 1. สอดแทรกความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ภายในชุมชนในหลักสูตรการเรียนการสอน
2. จัดตั้งชมรม กลุ่ม ค่ายเยาวชน ค่ายวิทยาศาสตร์ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพภายในสถานศึกษา และสถาบันการศึกษา และสนับสนุนให้มีการจัดทัศนศึกษานอกสถานที่ในเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
3. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปของพื้นที่สาธิตหรือศูนย์ถ่ายทอดความรู้ที่มีลักษณะเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินกิจกรรม (best practice) รวมทั้ง การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น โรงเรียนธรรมชาติ ห้องปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพ
4. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนและนวัตกรรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 1. กิจกรรมเวทีประชาเข้าใจฝายมีชีวิต ในส่วนของเนื้อหาการเรียนรู้ ระบบนิเวศกับความหลากหลายทางชีวภาพ
5. ใช้ 20 ชนิดพันธุ์สัตว์ 10 ชนิดพันธุ์พืชซึ่งเป็นสัญลักษณ์ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของไทยเป็นสื่อการเรียนการสอน
6. จัดพิมพ์หนังสือเสริมประสบการณ์ แผ่นพับ ภาพพลิก โปสเตอร์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) e-book e-learning ซีดีรอม วีดีทัศน์ เกมต่างๆ เป็นต้น แจกให้สถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
7. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในระดับประถมและมัธยมศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน